เผยอิง 101 ปี ศตวรรษแห่งการเปลี่ยนผ่านจากจีนเก่าสู่จีนใหม่ 

ถ้าเคยไปเดินถ่ายรูปที่ถนนทรงวาด คงได้เคยเดินผ่านศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหนึ่ง ก็คือ เล่าปุนเถ้ากง ว่ากันว่าเล่าปุนเถ้ากงเป็นศาลเจ้าอีกแห่งหนึ่งที่มีความเป็นมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยปี ศาลเจ้าแห่งนี้ย่อมผ่านความเปลี่ยนแปลง และมองเห็นชีวิตผู้คนทั้งสุขและทุกข์ที่มาเผชิญโชคในประเทศไทย เข้ามาอยู่ในชุมชนสำเพ็ง เยาวราช และชุมชนโดยร้อย ซึ่งในตอนนี้จะพาย้อนเวลาไปถึงจุดเริ่มต้นของเล่าปุนเถ้ากงด้วย แต่สิ่งที่ตอนนี้จะเล่าเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เล่าปุนเถ้ากง แต่เป็นสิ่งที่อยู่ข้างหลังเล่าปุนเถ้ากง ถ้าเรามองผ่านตัวศาลไปด้านหลังจากมีอาคารทรงฝรั่งตั้งซ้อนอยู่ด้านหลังศาลพอดี ตึกโคโรเนียลสวยๆ เก่าๆ ข้างหลังศาล ก็คือโรงเรียนเผยอิง กิตติศัพท์ของเผยอิง คือ โรงเรียนที่มีเจ้าสัวและลูกคนใหญ่คนโตมาเรียนมากที่สุด สำหรับลูกไทยอย่างผมไม่รู้สึกอะไรมากไปกว่าตึกโรงเรียนที่สวยมาก โรงเรียนจีนเก่าแก่แห่งนี้สำคัญอย่างไร ทำไมมาอยู่ตรงนี้ เผยอิงมีความสำคัญแค่เป็นโรงเรียนเจ้าสัวแค่นั้นหรือ ทำไมพ่อเจ้าสัวต้องส่งลูกมาเรียนเผยอิง ทั้งที่โรงเรียนจีนในกรุงเทพฯ สมัยก่อน มีอีกหลายโรง เรื่องเผยอิงเป็นเรื่องน่าสนใจ ปีนี้เผยอิงอายุเกิน 1 ศตวรรษแล้วก็คือ 101  ปี ผมควรเขียนเรื่อง เผยอิง ตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่มาเขียนตอนนี้คงไม่เป็นอะไร เพราะสิ่งที่เป็นความทรงจำของเผยอิง มีคุณค่าเกินความเป็นโรงเรียนที่อายุ 100 ปี มากมาย ชีวิตในเผยอิง เต็มไปด้วยความสุข ความสนุก มีสีสัน ความน่าตื่นเต้นและ ลึกลับ 

เผยอิงสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2459 เสร็จสมบรูณ์ เปิดการเรียนการสอนในปี 2463 หรือปี 1920  สร้างโดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีนที่มาจากแต้จิ๋วรวมกลุ่มรวมทุนทรัพย์กัน ทุ่มเทสร้างเผยอิงขึ้นมาด้วยเงิน 3 แสนบาท สามแสนเมื่อหนึ่งร้อยปีก่อน เยอะมากๆ และถ้าย้อนไปปี 1920 ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่คนทั้งโลกกำลังเผชิญกับ สงครามโลกครั้งที่ 1 ความจริงผู้สร้างเผยอิงไม่ได้คาดคิดว่าจะมีสงครามโลก แต่เมื่อเกิดแล้วก็เดินหน้าสร้างโรงเรียนต่อ ว่ากันว่าการสร้างเผยอิงนั้นทำให้พ่อค้าจีนผู้ก่อตั้งต่างเงินหมดกันไปตามๆ กัน เพราะว่าเศรษฐกิจไม่ดีด้วย และเพราะว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ลองคิดดูว่า ใจคุณต้องป๋าขนาดไหนถึงยอมลงทุนสร้างโรงเรียนเป็นตึกอย่างสวย มีข้อความที่เขียนไว้ในหนังสือที่ระลึกครบรอบ 50 ปี ของโรงเรียนเผยอิงว่า  การก่อสร้างได้รับผลกระทบกระเทือนจากภัยสงคราม เพราะอุปกรณ์การก่อสร้างขาดแคลนแพงขึ้น งานก่อสร้างจึงต้องหยุดชะงักไปถึงสามครั้งสามครา เพราะผู้รับงานขาดทุนไม่อาจดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้ แต่ท่านผู้ริเริ่มให้กำเนินโดรงเรียนได้ตั้งปณิธานไว้อย่างแน่วแน่แล้วว่า ถึงจะมีอุปสรรคอย่างไรก็จะฟันฝ่าให้งานลุงล่วงได้ จึงได้พยายามดำเนินการต่อมา ต้องเสียเวลาราวสามปีเศษก็สามารถฟันผ่าอุปสรรคทั้งปวงจนบรรลุความสำเร็จ เนรมิตสถานศึกษาอันโอ่โถงแห่งนี้ให้ตระหงานเป็นศรีสง่าอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตราบเท่าทุกวันนี้ เผยอิงสร้างบนที่ดิน 2 ไร่ 14 ตารางวา สมัยก่อนที่ดิน 2 ไร่ ในเยาวราชหรือทรงวาดที่ดินมากขนาดนี้หาไม่ง่าย แต่เพื่อสร้างโรงเรียนต้องมีพื้นที่มากพอที่จะสร้างโรงเรียนออกมาสวยสง่างาม ความเสียสละเพื่อให้เผยอิงเกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะทุนทรัพย์ เผยอิงยังสร้างขึ้นจากความเสียสละ และการมองไกลเห็นว่า ความรู้นั้น สำคัญและจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนธุรกิจและชีวิตคนในอนาคต

 

คุณสมชัย กวางทองพานิชย์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาลท้องถิ่นสำเพ็งเยาวราช นักเรียนเผยอิงรุ่น 23 รุ่นที่เผยอิง มีอายุครบ 50 ปี ฉายภาพเหตุการณ์ที่เป็นช่วงเวลาเกิดขึ้นของเผยอิงว่ามันเป็นช่วงของการ Disruption เป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่าน เป็นการมาของโมเดิร์นไซนิสกลุ่มใหม่ 1920 หลังการปฎิวัติวัฒนธรรมจีน การสร้างก็จะเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาเมือง เป็นการเริ่มกระบวนการแบบจีนใหม่เน้นการศึกษา ความสำคัญของเผยอิงคือการแสดงออกที่ชัดเจนถึงการตั้งรกราก สมัยก่อนคนที่มาทำงานที่นี่มีลุกหลายจะไม่ได้ได้เรียนที่ไทย จะส่งกลับไปเรียนที่จีน การมีเผยอิงเป็นการสร้างรากฐานที่ชัดเจนว่า ต้องให้ลูกมาเรียนที่นี่ ช่วงเดียวกันจึงมีโรงเรียนเกิดขึ้นจำนวนมากคน(จีน)ก็มามากขึ้น

 

ย้อนไปก่อนเริ่มสร้างเผยอิงมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ก็คือ เหตุการณ์ไฟไหม้ใหญ่ในเยาวราช ไฟไหม้เกินพื้นที่เป็นวงกว้างเพราะบ้านเรื่องบริเวณนั้นสมัยก่อนสร้างด้วยไม้ ปลูกติดกัน สิ่งที่ไฟไหม้ไม่อาจทำความเสียหายได้คือ ศาลเจ้า กับโรงงิ้ว ใช่ครับเรากำลังจะบอกว่า ตรงที่เป็นเผยอิงทุกวันนี้ คือ ที่ตั้งศาลเจ้าเก่าที่ไฟทำอะไรไม่ได้ และการสร้างเผยอิงขึ้น เป็นการรวมเอาศาลเจ้า 2 ศาล เข้าไว้ด้วยกัน คุณสมชัยเป็นผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านแผ่นที่เก่า คุณสมชัยได้เอาแผนที่เก่าเก่าซึ่งเป็นแผนที่ไฟไหม้ กับแผนที่เก่าที่มีการทำขึ้นในยุคนั้มาเทียบ จะเห็นแนวไฟไหม้และแนวที่ดินที่เป็นเผยอิงในทุกวันนี้ ถ้ามีการรวมศาลเจ้า แล้วมีการบริหารจัดการศรัทธากันยังไง คุณสมชัยยังได้คลี่คลายปริศนาที่ศาลเจ้า โดยชี้ให้เห็นว่า หากเข้าไปที่เล่าปุนเถ้ากงเราจะเห็นเทพองค์ประธานของศาล คือ ตั่วเหล่าเอี๊ย ขณะที่ในศาลมีรูปของปุนเถ้ากง ชวนให้คิดว่า เหตุใดเจ้าองค์ประธานไม่ตรงกันชื่อศาล ถ้าใครเคยไปเล่าปุนเถ้ากง จะพบของมีคู่ที่แปลกๆ กระธานธูปที่เหมือนกันขนาดเท่ากันใบ ระฆังเก่า 2 ใบ กลองใบ สิ่งเหล่านี้ยืนยันว่า เดิมตรงเผยอิงมีศาลเจ้า  2 ศาล แล้วรวมเป็นศาลเดียว พื้นที่เดิมของศาลที่ไม่ได้ถูกไฟไหม้ถูกแทนที่ด้วยโรงเรียนเผยอิง  ศาลเล่าปุนเถ้ากงที่เราไปไหว้กันตอนนี้ มีหลักฐานเป็นหนังสือพิมพ์เก่าตีพิมพ์ถึงการสร้างเผยอิงและการย้ายเจ้าว่า ครั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 เดือนนี้ จีนพ่อค้านายจ้างต่างได้ยินฮิบโฮเร กันมาแบกเจ้าในศาลทั้งสองศาลไปรวมไว้กับเจ้าเล่งบ๊วยเอี๋ยตำบลโรงบ่อน เล่งบ๊วยเอี๋ยข้ามเวลานี้มีศาลเจ้าเก่าทั้ง 2 ศาลไม่มีเจ้าแล้วเฮียกงร้องไห้โฮ (เฮียกงคงหมายถึงคนเฝ้าศาล ผู้เขียนจากคำอธิบายของคุณสมชัย) เพราะเกรงจะต้องอด พ่อค้านายห้างเห็นว่าถึงจะไม่มีโฉนดก็สร้างใหม่ได้ เพียงขออนุญาติต่อกระทรวงเทศบาลแล้วก็แล้วกัน …. แปลนที่จะสร้างใหม่คือแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนหน้าเป็นศาลเจ้าศาล (ซึ่งเดิมมี 2 ศาลจะรวมกันเสีย) ตอนกลางเป็นโรงเรียน ตอนหลังเป็นที่ประชุมพ่อค้านายห้าง ศาลเล่าปุนเถ้ากงที่เราเห็นทุกวันนี้ สร้างขึ้นมาใหม่ 8 ปี หลังจากสร้างเผยอิงเสร็จ  ช่วง 8 ปี นั้น ได้เชิญเทพทั้งสององค์ไปไว้ที่ศาลเล่งบ๊วยเอี๋ย ศาลเก่าอีกแห่งใกล้กัน ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ถ้ามองกลับไปที่ประเทศจีนจะพบกับช่วงเวลาปฎิวัติวัฒนธรรม เป็นช่วงเปลี่ยนจากจีนเก่าไปสู่จีนใหม่ ที่เผยอิงมีแผนป้ายเก่าเขียนโดยผู้ร่วมก่อตั้งเผยอิง เป็นภาษาจีนผมก็อ่านไม่ออกครับ ได้รับความกรุณาอีกครั้งจากคุณสมชัย แปลข้อความบนป้ายเมื่อแรกสร้างเผยอิง ได้ความว่าเราจะปลูกเพาะต้นกล้าแห่งวัฒนธรรมเดิมของเราไว้นี่คือเจตนารมณ์ของคนสร้างเผยอิง แสดงจุดยืนชัดเจน 

ที่นี้มาที่ความรู้สึกของการเรียนเผยอิงเป็นยังไง

 

คุณสมชัย กวางทองพาณิชย์ นักเรียนเผยอิง รุ่นครบรอบ 50 ปี เล่าว่า เผยอิงเหมือนแบรนด์ตัวนึง ถ้าคุณเป็นลูกแต้จิ๋วบ้านอยู่แถวนี้คุณต้องเรียนที่นี่ เป็นเหมือนสัญญลักษณ์อย่างหนึ่ง เด็กๆ แถวนี้เรียนกันไม่กี่โรงเรียนหนึ่งในนั้นคือเผยอิง เผยอิงหรือเป่ยเอง โรงเรียนแถวนี้ชื่อจะเป็นจีนหมด จะรู้กันว่าโรงเรียนนี้เป็นจีนกลุ่มไหน สมัยไปเรียนยังมีป้ายที่โรงเรียนว่าเป็นโรงเรียนโดยสมาคมแต้จิ๋ว โรงเรียนเคยเป็นที่ทำการสมาคมแต้จิ๋วมาก่อน การเข้าเรียนที่เผยอิงแต่ก่อนต้องจับสลาก ไม่ใช่เข้าเรียนได้ง่ายๆ แต่ละปีโรงเรียนจะกำหนดจำนวนรับนักเรียนไว้ ถ้าเด็กมาสมัครเกินจะแก้ปัญหาด้วยการขับสาก สมัยแล้วจะมีคิวจับสลาก โอกาสเข้าก็ยากเหมือนกัน อย่างเฮียสมัครครั้งแรกไปจับไม่ได้ ก็ต้องเรียนโรงเรียนอนุลาลในเครือ คืออนุบาลเสริมมิตร การเริ่มเข้าเผยอิงสมัยก่อนจะมีป.1เล็ก อนุบาลจะมีอนุบาลหนึ่งกับสอง อย่างเฮียสอบไม่ได้ก็ไปเรียนอนุบาลสองปี แล้วมาเข้าป.1 เล็กใหม่ แล้วก็ไปป.1 ใหญ่ แล้วไปป.2 3 4 มีแค่นั้นก็จบ

ตอนเข้าเขาแจกหนังสือเผยอิง 50 ปี ยังคุยกับเพื่อนตอนนั้นว่า เขาแจกหนังสือ 50 ปี ถ้าเราอยู่ต่ออีก 50 ปี เราจะอยู่ทันฉลองเผยอิง 100 ปี ตอนนั้นเราจะอายุ 60 ปี นี่เราอยู่มาถึงตอนนี้ 100 ปี พอดี การเรียนการสอน 50 ปีก่อนเริ่มมีกฎข้อบังคับเข้ามา ไม่ได้เรียนจีนทั้งหมด เราจะเรียนจีนแค่วันละ 2 ชั่วโมง 5 วัน ก็ 10 ชั่วโมง ที่เหลือเรียนภาษาไทย ในสัปดาห์เวลาเรียนภาษาไทยไม่พอต้องมาเรียนวันเสาร์อีก 3ชั่วโมงไทย 1 ชั่วโมงจีน เข้า 8 โมงเลิกเที่ยง ทำให้เด็กหลายคนไม่ชอบเรียนเผยอิงเพราะต้องเรียนวันเสาร์คนอื่นเข้าไม่ต้องเรียนเขาก็ไปทำอย่างอื่นไปช่วยพ่อแม่ ไปเที่ยว เขาได้หยุดเสาร์อาทิตย์ วันธรรมดาเข้าแปดโมงเลิกบ่ายสามครึ่ง

 

ความเข้าใจอย่างหนึ่งที่คนมักเข้าใจกันไปเอง คือ เรียนโรงรียนจีนต้องพูดจีนได้ทุกคน ความจริงเรียนโรงเรียนจีนไม่ได้ทำให้พูดจีนได้ เพราะในสังคมสมัยนั้นถ้าเป็นลุกจีนในสำเพ็งเยาวราชอยู่ในสังคมแถวนี้พูดจีนได้อยู่แล้ว  สิ่งที่มีอิทธิพลกับเด็กสมัยนั้นมากที่สุดคือ โทรทัศน์ แต่ก็ลูกจีนไม่มีโทรทัศน์ดู 50 ปีก่อนเริ่มมีทีวีดู ทำให้เริ่มการใช้ภาษาไทยเพิ่มมากขึ้นเราดูจากทีวี วิทยุก็มีส่วนสมัยนั้นเริ่มมีแม่บ้านมาจาต่างจังหวัดมาทำงาน แม่บ้านก็จะเปิดวิทยุ ฟังละครวิทยุ เราฟังเพลง ฟังละคร เวลาแม่บ้านทำงานก็จะเปิดฟังเราก็จะฟังตาม ขณะที่เราเดินออกไปนอกบ้านทั้งตลอดพูดภาษาจีนหมดจะซื้ออาหาร ซื้อของ ซื้ออะไรต้องเป็นภาษาจีนล่วนๆ ดังนั้นเราต้องพุดได้ อยู่บ้านกับพ่อแม่ก็พูดจีน ที่เรียนพอป.สองป.สาม ก็ใช้ภาษาไทยกันมากขึ้น พูดจีนน้อยลง สมัยก่อนในห้องเรียนนึงมีคนใช้แซ่เป็นนามสกุลเกิดครึ่งห้อง มีชื่อจีนเลยสักสองคน เพื่อนคนนึงอยู่ที่ตลาดเก่าใช้ชื่อเจีนนตั้งแต่เด็กจนจบมหาวิทยาลัย เปลี่ยนตอนวันรับปริญญาเพราะไม่งั้นปริญญาจะพิมพ์ชื่อจีนไปตลอด 

ตอนนั้นมีความรังเกียจในความเป็นจีนบ้าง เราเหมือนเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ใช้ภาษาจีน พอเราจบป.4 ไปต่อป. 5ที่โรงเรียนอื่นเราจะหลายหลายมากขึ้น จะไม่ได้ใช้ภาษาจีนแล้ว ความเป็นจีนของโณเงรียนจีนในต่างจังหวัดจะเข้มข้นกว่า เด็กต่างจังหวัดจากระยอง จากชลบุรีามารถคุยภาษาจีนกับครูได้เลย อาจจะเป็นเพราะว่าอยู่ไกลไม่มีคนมาตรวจสอบ ขณะที่เด็กในกรุงเทพฯ จะเรียนจีนในโรงเรียน โตขึ้นมาหน่อยการเรียนจีนจะเรียนตอนกลางคืน อย่างสีตะบุตร มีห้องเรียนจีน 30ห้อง ภาษาไทย 50 ห้อง แล้วค่อยๆ หายไป ตอนนั้นมีหลักสูตรภาษาจีนถึง ม.6 ตอนหลังหลักสูตรค่อยๆ ลดการเรียนจีนลงเรื่อยๆ โรงเรียนที่สอนจีนและไทย โดยสอนจีนตอนกลางคือ ก็มีสีตะบุตร ศึกษาวัฒนา สุดท้ายหายไปหมด การเรียนหนังสือสมัยนั้น จะมีหนังสือชุดเฉพาะเป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการทำขึ้น จึงมีการแต่งตำราโดยครูไทย ทุกอย่างจะระมัดระวังเพราะกลัวคอมมิวนิสต์ หนังสือที่ครูไทยแต่งเอง พอครู่จีนเห็นว่ายังใช้ไม่ได้เขาก็จะแก้ด้วยโรเนียว เรียงลำดับไวยกรณ์ใหม่ เอามาแปะไว้ ตอนเรียนสีตะบุตร จะมีตำราเล่ม เราไม่ได้เรียนตำราจีนโดยตรง 

 

เผยอิง 101  ปี ไม่ได้มีแค่เรื่องวิชาการ แต่มีเรื่อง ลึกลับที่ หาคำตอบไม่ได้ อาจจะเรียกว่า ปาฎิหารย์ ที่เผยอิง ก็ได้ เฮียสมชัย เล่าว่า มันก็เคยมีเรื่องแปลกๆ อย่าง กรณีโต๊ะเขย่าเอง กลางวันแสกๆ คนก็มาดูก็แตกตื่น กลัวว่าจะมีเหตุร้าย จำได้ว่า มีการล้อมเชือกเอาไว้ โต๊ะก็จะสั่นๆ จนแจกันดอกไม้สั่นเห็นได้ชัด คนก็จะไปไหว้ที่ศาลปุนเถ้ากงเต็มศาลกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ขึ้น เหตุการแปลกๆ ที่มีการเขย่าที่มีที่ศาลเจ้ากวนอูด้วย ปี 2509 เขย่าเป็นเดือนจึงจะหยุด ที่เผยอิงเขย่าเป็นวัน เราไปดูเห็นปลายดอกไม้มันสั่น เราอาจจะอธิบายว่าเป็นจังหวะของความถี่อะไรบางอย่างทำให้สั่น หรือมีบางศาลเจ้ามีโคมไฟหมุนก็มี สำหรับบางคนอาจจะมองว่ามันเป็นความบังเอิญเกินไป อาจจะเป็นปาฎิหารย์ของเจ้า ซึ่งความจริงถ้าบอกได้ อยากให้เจ้าท่านทำอีก มันจะเป็นการกระตุ้นสร้างศรัทธาให้กลับคืนมา 

 

ความสัมพันธ์ของปุนเถ้ากงกับเผยอิง ตามหลักฐาน ปุนเถ้ากงมีมาก่อนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โรงเรียนมามีทีหลัง ศาลอยู่หน้าโรงเรียน  เด็กๆ ส่วนใหญ่จะมีความทรงจำกับศาลเจ้าปุนเถ้ากง อย่งเฮีย เวลามาเรียนกลับบ้านก็ต้องเจอ เราก็ไหว้ เวลาฝนตกกลับบ้านไม่ได้ก็ไปหลบที่ศาล เด็กสมัยก่อนมีความสุขเล็กๆ ด้วยการไปดูปลาดูเต่าที่ศาลเจ้า ส่วนใหญ่เด็กๆ เรียนเสร็จแล้วก็จะกลับบ้าน เฮียชอบเดินดูศาลเจ้า เดินเยาวราช ดูโปรแกรมหนัง ดูปลา ซื้อปลากัด  เผยอิงสมัยก่อนสมัยนี้แตกต่างกัน เด็กสมัยนั้นพูดจีนได้หมด ใครไม่ได้ก็แปลก สมัยนี้คนเริ่มไม่ใช้ภาษาจีนแล้ว 

101 ปี เผยอิง ตึกเก่าสถาปัตยกรรมสวยงามทอดตัวอยู่กลางชุมชนการค้าสำเพ็ง ยังคงท้าทายต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก เวลาที่ผ่านมาเผยอิงพิสูจน์ถึงการเป็นสถาบันและเสาหลักที่มั่นคง ปีที่ 102 และปีต่อๆ ไปเผยอิงจะยังคงสร้างคนที่มีคุณภาพออกมาสู่สังคมไทยต่อไป