• Home
  • HEARING THE PAST
  • เมืองเก่าภูเก็ตฉบับ 1 ชั่วโมง 

เมืองเก่าภูเก็ตฉบับ 1 ชั่วโมง 

มีโอกาสไปเยือนย่านเมืองเก่าของภูเก็ตในค่ำคืนหลังจากทำงานเสร็จ เวลาไม่มากในการเดินชมและถ่ายภาพ เลยตั้งชื่อตอนว่า เมืองเก่าภูเก็ตฉบับ 1 ชั่วโมง คือ ใช้เวลาเดินไปเดินกลับประมาณ 1 ชั่วโมงนิดๆ พอดูเสร็จ ความสวยของตึกกับความสงสัย ทำให้กลับมาหาข้อมูลเกี่ยวกับย่านเมืองเก่าเพื่อเอามาเขียนบันทึกความทรงจำของตัวเอง ผมเดินชมเมืองเก่าบนถนนฉลองตอนเกือบสามทุ่ม ยอมรับว่าตื่นตามตืนใจกับตึกเก่าสวยที่เรียงตัวของตลอดเส้นถนน ความรู้สึกเมื่อเห็นครั้งแรกนึกไปถึงตึกที่เมืองก่าของสิงคโปร์ รู้สึกดูคล้ายๆ เก็บความสงสัยไว้แล้วเดินต่อไป บางความรู้สึกที่เห็นบ้านเก่าตลอดถนน ก็นึกไปถึงย่านทรงวาดของประเทศไทย เดินไปจนสุดถนนจึงเดินกลับ ผ่านทางหอนาฬิกาที่ถามคนแถวนั้นบอกว่าเป็นแลนด์มาร์ค ก่อนจะไปถึงโรงแรมที่พัก พอกลับมาจึงรวบความข้อมูลเพื่อธิบายความสงสัยของตัวเอง และเหตุผลว่าทำไมถึงมีตึกสวยมาตั้งเรียงรายตลอดเส้นทาง ได้คำตอบที่เอามาถ่ายทอดต่อว่า 

ตึกที่ผมถ่ายรูปไปจนเกือบหมดแบตเตอรี่โทรศัพท์ เจ้าของเดิมเป็นคนจีน จากฮกเกี้ยน ที่เดินทางมาทำการค้าที่ภูเก็ต ในสมัยรัชกาลที่ 4 ตึกได้รับอิทธิพลมาจาก พื้นที่ที่เป็นสถานีการค้าดั่งเดิมกับผู้ค้าในภูเก็ตในเวลานั้น คือ ประเทศสิงคโปร์ อันนี้ถึงบางอ้อว่าทำไมตึกบนถนนฉลองถึงคล้ายๆ ตึกที่เมืองเก่าสิงคโปร์ ถัดมาคือ มะละกา มาเลเซีย และเมืองจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง หน้าตาม ประตู ศิลปะ บงผสมผสานได้รับอิทธิพลจากบ้านเก่าในเมืองทั้งสามนั้นมาอย่างละนิดอย่างละหน่อย ซึ่งเหตุผลของการ”รับ” มาคงแล้วแต่เจ้าของบ้านแต่ละหลัง การออกแบบบ้านแต่ละหลังสะท้อนฐานะของเจ้าของบ้าน สะท้อนเชื้อชาติ และฐานะทางสังคม บ้าน จึงถูกสร้างเพื่อแสดงถึงความร่ำรวยและทันสมัย 

ถ้าจะเดินดูบ้านเก่าที่ถนนฉลองแบบจริงจังต้องใช้เวลาเป็นวัน สรุปให้เข้าใจง่ายๆ อย่างที่บอกแล้วว่าบ้านได้รับอธิพลจาก 3 เมือง ดังนั้น ศิลปะ ของบ้านที่เมืองก่าภูเก็ตถนนฉลอง จึงเป็นบ้านที่มีส่วนผสม ของ ศิลปะจีน (ของจีนตอนใต้แถบฮกเกี้ยน) ยุโรป แบบโคโลเนียล ผสมกลิ่นอายแบบแขกๆ สิ่งที่สะท้อนอิทธิพลของจีน คือ ประตูไม้แกะสลัก ช่องระบายอากาศ ยอดจั่วหลังคา ลวดรายปูนปั้น รูปสัตว์และผลไม้มงคลของจีน มีความเป็นอินเดียปรากฎอยู่ในหน้าต่างแบบยาวถึงพื้น เสาประดับปูนปั้น ซุ้มโค้งเหนือหน้าต่าง ส่วนความเป็นยุโรปสะท้อนออกมาทางโครงสร้างอาคารที่เป็นปูน สถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล เวลามาเดินที่นี่เหมือนเดินปีนังแล้วไปโผล่สิงคโปร์ยังไงยังงั้น 

เรื่องของเมืองเก่าภูเก็ตนั้น มีลำดับความเป็นมาเก่ากว่า เมืองเก่าภูเก็ตมากว่าที่ถนนฉลอง บ้านเก่าที่ถนนฉาลอง เป็นเมืองเก่ายุครัตนโกสินทร์  เมืองเก่าภูเก็ตมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ภูเก็ตเป็นสถานีการค้าที่มีแหล่งแร่ดีบุก และทรัพยากรหลายอย่าง คนที่มาภูเก็ตตอนนั้นมีทั้ง ฝรั่ง  จีน อินเดีย การมาของแต่ละกลุ่มอาจจะไม่มากพอเท่ากับพ่อค้าจีนที่มาที่นึ่  ในบันทึกเมืองภูเก็ตบอว่าคนจีนที่มาที่นี่มีทั้งชนชั้นแรงงาน และพ่อค้า ดังนั้นบ้านเก่าของคนจีนระดับผู้ปฎิบัติงานก็น่าจะมีแต่ไม่ได้สร้างถาวรและสวยเมือนบ้านที่นี่ 

เมืองเก่าที่ได้เห็นไม่ได้เก่ามาก แต่เป็นเมืองเก่าที่ดูแลให้ใหม่ บ้างก็ดัดแปลงผสมของใหม่ บ้างก็ปรับปรุงให้ใหม่แต่ยังคงความเก่า ถ้ามีโอกาสอยากค้นหาเรื่องราว ของคนเก่าเอามาถ่ายทอด วันนี้หมดเวลา 1 ชั่วโมงาเลยเก็บรูปมาฝาก 

ข้อมูลอื่นๅ