ตำราอาหารฮารูณ

อาหารเป็นสิ่งเชื่อมโยงวัฒนธรรม และบ่งบอกตัวตนของคนในชุมชนได้ดีที่สุด โดยเฉพาะชุมชนเก่าที่มีความเป็นมายาวนาน ฮารูน ชุมชนมุสลิมที่บางรัก มีมัสยิดฮารูนที่ผู้คนรู้จักดี ที่ฮารูน มีลวดลายประดับห้องละหมาด สไตล์ ‘มูซันนา’ (Musanna) คือ Calligraphy ที่เขียนสะท้อนสองด้านอย่างสมมาตรกัน ฮารูน ป็นที่ตั้งถิ่นฐานพี่น้องมุสลิมมายาวนาน  ประกอบด้วยมุสลิมหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งไทย เมียนมา ชวา อินเดีย และแอฟริกา THE HARROON COOK BOOK บันทึกเรื่องราวของ อาหารประจำ

ซาโมซ่า  แป้งทอดกรอบทรงสามเหลี่ยมไส้เค็ม ทำจากผัก ไส้เนื้อมีทั้งไก่และเนื้อวัว

ข้าวหมก หรือข้าวบุหรี่ ตำรับอาหารที่เป็นเอกลักษณ์จากตะวันออกกลาง “บิรยานี” ข้าวหุงกับเนื้อสัตว์ แพะ แกะ เนื้อวัว ไก่ หรือแม้แต่นก กุ้ง และปลา หมักด้วยเครื่องเทศก่อนทำการหุง

บาเยีย อาหารว่าง ทานเล่นของชาวอินเดียทุกเพศทุกวัย บาเยียทำจากพืชไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์

มะตะบะเนื้อ หอมกลิ่นเครื่องเทศจากร้านคุณไหมโรตีมะตะบะ อัดแน่นไปด้วยเครื่อง แนมด้วยอาจาดรสเปรี้ยวหวานกำลังดี

แกงกระหรี่ปลา แกงกระหรี่ปกติใช้โปรตีนจากเนื้อไก่ เนื้อวัว ตำรับฮารูณ เป็นแกงกระหรี่ปลา ส่วนมากใช้เนื้อปลาทะเลเนื้อปลาทูน่า ปลาอินทรีย์ ปลาน้ำดอกไม้ ขาดไม่ได้เมื่อทานแกงกระหรี่ปลา คือ ใบเจียวแกง (Curry leaves) ให้รสหอม ดับคาวในเนื้อปลา เครื่องแกงกระหรี่ เป็นเครื่องแกงผสมกับนม หรือกะทิ บางโอกาสใช้ปลาสละเค็ม กุ้ง แกงกระหรี่ปลาทานคู่กับปลาทอดเครื่อง น้ำพริก ผัดผัก ผักโขม และอาจากมะนาวดอง

โรตี โรตีหนา เนื้อนุ่ม ไม่มีกลิ่นหืน แป้งไม่กระด้าง ทอดแบบกำลังดี ไม่นิ่ม หรือกรอบเกินไป โรตีทานกับแกงหรือชาร้อน

ชาฮารูณ น้ำชาต้มจากชาผงจากอินเดียผสมด้วยนมวัว ขนมจอร้อ ขนมซูยี หรือโซยี หรือ ฮารัว ทำจากป้ง ชื่อภาษาอังกฤษคือ Couscous แป้งผสมแป้งสาลีชนิดหยาบ ผสมชนิดละเอียด ได้เนื้อแป้งหยาบร่วน ในชุมชนฮารูณ มักทานแบบเปียก ทานหลังอาหารหลัก คือ ข้าวหมก บางคนชอบทานแบบแห้ง ปั้นเป็นก้อน เรียก ฮะหรั่ว

ข้อมูลอื่นๅ